การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบใช้สายและไร้สาย แบบใดเหมาะกับการใช้งาน
การสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่าย นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในปัจจุบัน ซึ่งช่วยให้สามารถส่งข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นในการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานเป็นสำคัญ เช่นใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลที่บ้าน ใช้ในการเรียนการสอน ใช้ในเชิงธุรกิจ ใช้เพื่อความบันเทิง หรือใช้ภายในองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้นการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตจึงมีความแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความต้องการ รวมทั้งเงินทุนที่จะใช้ในการติดตั้งระบบด้วย
ปัจจุบันการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่นิยมกัน มี 2 ประเภท คือ การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire internet) และ การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire internet)
การเชื่อมต่อเข้าอินเตอร์เน็ต แบ่งได้ตามความลักษณะของผู้ใช้ได้ดังนี้
1.การเชื่อมต่อแบบองค์กร ในกรณีนี้ผู้ขอเชื่อมต่อเป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กร (LAN) อยู่แล้ว การเชื่อมต่อสามารถเอาเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายนั้นมาเชื่อมต่อ จะทำให้เครื่องอื่นๆ ในระบบทั้งหมดสามารถเข้าไปใช้งานในอินเตอร์เน็ตได้ การเชื่อมต่อแบบนี้อาจเชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ หรือ คู่สายเช่า (Lease line)
2.การเชื่อมต่อส่วนบุคคล บุคคลทั่วไปสามารถขอเชื่อมต่อเข้าสูอินเตอร์เน็ตโดยใช้คอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า Modem การเชื่อมต่อแบบนี้เรียกว่า การเชื่อมต่อแบบdial-up โดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ ISP ก่อนองค์ประกอบของการใช้อินเทอร์เน็ตส่วนบุคคล
Modem คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณดิจิทัล (digital) ซึ่งเป็นสัญญาณในคอมพิวเตอร์
ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog) เช่น สัญญาณเสียง เพื่อส่งไปตามสายโทรศัพท์ และแปลงกลับเป็นสัญญาณดิจิทัลอีกครั้งเมื่อสัญญาณถึงปลายทาง Modem แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)
2.1 WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้WAP เพื่อท่องอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
2.2 GPRS (General Packet Radio Service) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 bps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
2.3 โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbpsซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เพียง56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
2.4 เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สาย
บลูธูทเพื่อใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี
ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
สรุปว่า การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรูปแบบการใช้สายจะให้ค่าที่เสถียรกว่า คือ ระบบสัญญาณจะทำงานได้ดีและใช้งานได้อย่างต่อเนื่องแต่อาจจะยุ่งยากในการเดินสายและการติดตั้งและไม่สะดวกต่อการใช้งานนอกสถานที่แต่หากเป็นแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายจะเหมาะสมกับงานที่ต้องการใช้งานนอกสถานที่ หรือในที่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สายค่อนข้างสูง แต่อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าแบบใช้สายสัญญาณแต่แนะนำหากมีงบประมาณควรมีการเชื่อมต่อเครือข่ายทั้ง 2 รูปแบบในการใช้งาน
TOP